ปวดท้องบ่อย ๆ ระวังเป็น "ช็อกโกแลตซีสต์" ไม่รู้ตัว
ปวดท้องน้อยในช่วงมีประจำเดือนบ่อย ๆ อย่าละเลยอาการนี้กัน อย่าคิดเพียงว่าเป็นอาการปกติของการเป็นประจำเดือน เพราะอาการปวดท้องหนักขณะมีประจำเดือนนั้น อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นโรค “ช็อกโกแลตซีสต์” ได้ อาการจะเป็นแบบไหน แล้วใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มาเช็คอาการไปพร้อม ๆ กัน
โรคช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากอะไร
โรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือคือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) โรคนี้เกิดขึ้นจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเมื่อถึงรอบประจำเดือน และไปเจริญนอกโพรงมดลูก โดยเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ผ่านท่อนำไข่แล้วฝังตัวที่รังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำ และอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นในแต่ละเดือนได้
อาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์
โรคช็อกโกแลตซีสต์นั้น ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการที่แตกต่างกันอยู่ แต่ก็จะมีภาวะอาการที่เป็นอาการส่วนมาก อย่างอาการปวดบริเวณท้องน้อยขณะมีประจำเดือน โดยอาการปวดจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนคุณอาจจะต้องรับประทานยาแก้ปวด รวมไปถึงอาการปวดในบริเวณอื่น ๆ อย่างหลัง หรือเอว นอกจากนั้น ผู้ที่เป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์ยังมีอาการท้องอืด ท้องเสีย และปวดมากเวลาถ่ายอุจจาระในช่วงที่มีประจำเดือน
หรือขณะมีเพศสัมพันธ์นั้นเกิดอาการปวดที่มดลูกหรือท้องน้อย และภาวะมีบุตรยาก ก็อาจมีสาเหตุเกิดขึ้นได้จากการเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้เช่นกัน
ใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของช็อกโกแลตซีสต์
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ คือ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน นับตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่จะสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยมีกลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
- เป็นผู้มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
- เป็นผู้มีประจำเดือนรอบสั้น โดยเฉพาะรอบห่างของประจำเดือนน้อยกว่า 27 วัน
- เป็นผู้มีประจำเดือนมาก หรือนานกว่า 7 วันต่อครั้ง
- เป็นผู้มีสมาชิกในครอบครัว เช่น แม่ ยาย พี่สาว มีประวัติเป็นโรคนี้
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับทางออกของประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยที่มีเยื่อพรหมจารีปิด หรือมีความผิดปกติที่ปากมดลูก
ช็อกโกแลตซีสต์มีวิธีการรักษาได้อย่างไร
การรักษาช็อกโกแลตซีสต์นั้นแบ่งเป็น 2 วิธีการรักษาด้วยกัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
1.รักษาโดยการใช้ยา ใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก ลักษณะของก้อนช็อกโกแลตซีสต์ยังไม่มีขนาดใหญ่รวมไปถึงยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะให้ยาแกเปวด ยาฮอร์โมน เพื่อเป็นการควบคุมอาหารไม่ให้รุนแรงขึ้น
2.รักษาโดยการผ่าตัด ในปัจจุบันการผ่าตัดก้อนช็อกโกแลตซีสต์ออกโดยมากมักจะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องมากกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยการผ่าตัดส่องกล้องจะเป็นการผ่าตัดโดยการเปิดแผลขนาดเล็ก 0.5-1 ซม.ที่หน้าท้อง แล้วผ่าตัดผ่านกล้องที่มีความละเอียดสูง สามารถผ่าตัดเลาะพังผืด และเอาซีสต์ออกแผลเล็ก เจ็บแผลน้อย ใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดไม่นาน ปัจจุบันการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานในโรคช็อกโกแลตซีสต์ คือการผ่าตัดส่องกล้อง เนื่องจากมีข้อดีกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม
สำหรับผู้หญิงอย่างเรา ๆ ควรหมั่นสังเกตุความผิดปกติของรอบเดือน หากมีความผิดปกติของรอบเดือนเกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณบอกความผิดปกติของร่างกาย ไม่ว่าโรคมดโรคหนึ่งก็เป็นได้
ที่มา vejthani
สินค้าแนะนำ
ประกันสุขภาพ
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส
ประกันสุขภาพ
วี เพรสทีจ แคร์
ประกันสุขภาพ
วี เบ็ทเทอร์ แคร์