หน้าเบี้ยวครึ่งซีกโรคอัมพาตใบหน้า ภัยใกล้ตัวที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
จู่ ๆ ก็ใบหน้าเบี้ยว หรือนี่คือโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก หนึ่งในเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นไปมาดูลักษณะอาการของโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก รวมถึงวิธีการหลีกเลี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้จะเป้นอย่างไรบ้าง วิริยะประกันสุขภาพมีคำตอบค่ะ
สาเหตุของโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก (Bell's Pasly) หรือโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก นั้นเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า ทำให้ใบหน้าเกิดการบิดเบี้ยวหรือขยับผิดปกติ
โดยปกติแล้วโรคอัมพาตใบหน้าพบได้บ่อยในคนทุกเพศ ทุกวัยแต่สามารถรักษาหายได้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ โรคนี้นั้นอาจเกิดบ่อยในกลุ่มคนดังต่อไปนี้
กลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- สตรีตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง
- ผู้ติดเชื้อ HIV
อาการของโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
อาการของโรคอัมพาตใบหน้าหรือใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมักจะมาแบบฉับพลันหรือไม่ทันตั้งตัว โดยผู้ป่วยโรคนี้ระยะเริ่มต้นอาจมีอาการแสบตาข้างเดียว ไม่สามารถปิดตาให้สนิทได้ขณะโดนลม เวลารับประทานอาหารอาจมีน้ำลายไหลออกทางมุมปากข้างใดข้างหนึ่งแบบไม่ทันรู้ตัว หากโรคมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น อาจถึงขั้นปากเบี้ยวและตามปิดไม่สนิทจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ในบางรายอาจไม่สามารถขยับมุมปาก หลับตา หรือยักคิ้วหลิ่วตาได้เลย
วิธีรักษาโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
การรักษาโรคนี้มีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกันคือการใช้ยาและการกายภาพบำบัด โดยการใช้ยานั้น แพทย์จะใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์ เพื่อช่วยลดการบวมและอักเสบของเส้นประสาททำให้หายเร็วขึ้น รวมไปถึงรักษาเพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างการปิดตาหรือหยอดน้ำตาเทียม เพื่อป้องกันตาที่ไม่สามารถปิดสนิทได้ติดเชื้อ
ในส่วนของการกายภาพบำบัด ผู้ป่วยโรคอัมพาตใบหน้าหรือใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก จะต้องทำการออกกำลังด้วยการยกกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ปิดตาแน่น ทำปากจู๋ ยักคิ้ว แก้มป่อง ยิงฟัน หรือนวดหน้า เป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อนั้นเอง
การป้องกันโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก
- นวดใบหน้าด้านมีอาการเบาๆ สม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาท
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- บริหารกล้ามเนื้อใบหน้า
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกไม่ใช่โรคร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้ เพียงดูแลให้ดีตามแพทย์สั่งเท่านั้น
ที่มา thonburi hospital
สินค้าแนะนำ
ประกันสุขภาพ
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส
ประกันสุขภาพ
วี เพรสทีจ แคร์
ประกันสุขภาพ
วี เบ็ทเทอร์ แคร์