อย่ามาเล่นกับไฟ รับมือยังไงเมื่อลูกน้อยโดนไฟดูด

อ่าน 6690 ครั้ง   27 มิถุนายน 2568  

ลูกโดนไฟดูด


  เคยไหมที่แค่เสี้ยววินาทีที่คุณคลาดสายตา ลูกน้อยก็อาจกำลังเผชิญหน้ากับอันตรายที่คุณคาดไม่ถึง? “ไฟดูด” คือหนึ่งในฝันร้ายที่ผู้ปกครองทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แม้ในบ้านที่คิดว่าปลอดภัยที่สุดก็มีความเสี่ยง ดังนั้นไปดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟดูดในเด็กจะมีอะไรบ้างและหากลูกโดนไฟดูดจะมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร


  เพราะไม่เพียงอันตรายถึงชีวิต แต่ยังอาจส่งผลระยะยาวเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกายลูกน้อย เพื่อให้คุณเตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์เหล่านี้ได้ทันท่วงที การวางแผนซื้อประกันอุบัติเหตุเด็ก ควรเลือกแบบไหนให้คุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้มากที่สุด บทความนี้มีคำตอบ


  สาเหตุเสี่ยงทำให้เด็กโดนไฟดูดภายในบ้าน

  เด็กเล็กในช่วงวัย 1 ขวบ วัยแห่งการท่องสำรวจอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาจะเริ่มใช้มือและปากในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นการชี้ ชูนิ้ว หยิบวัตถุ และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเองได้ โดยเฉพาะในระดับสายตา ต่อให้มีของเล่นกระจายอยู่เต็มบ้าน แต่ขอบอกเลยว่าปลั๊กไฟคือของหวาน 


  โดยเฉพาะกับปลั๊กที่อยู่ในที่ต่ำที่เด็กสามารถเอื้อมหยิบถึง เช่น สายชาร์จมือถือ ปลั๊กไฟบริเวณหลังเก้าอี้ โซฟา ใต้โต๊ะ หรือปลั๊กพ่วงสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง พัดลม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เองต้องพึงระมัดระวังเอาไว้ เพราะช่วงเวลาเพียงพริบตาเดียวที่คุณละสายจากลูกน้อย อาจเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุในเด็กที่คุณไม่อาจคิดได้


  4 ขั้นตอนปฐมพยาบาลเมื่อลูกโดนไฟดูด

  1. ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก รีบตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณที่เกิดเหตุทันที
  2. โทรแจ้งสายด่วนเบอร์ 1669 แจ้งสถานที่เกิดเหตุ และอาการของเด็ก พร้อมรับคำแนะนำช่วยเกลือเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่ 
  3. หากลูกน้อยหมดสติและไม่มีสัญญาณชีพจร ให้เริ่มทำ CPR ทันที โดยวางมือตรงบริเวณครึ่งล่างกระดูกหน้าอก กดลงประมาณ 5 เซนติเมตร พร้อมกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับเปาปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันไปจนกว่าทีมเจ้าหน้าที่จะมา
  4. หลังจากเด็กปลอดภัย ให้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง


ข้อควรรู้ : มีสติ อย่าผลีผลาม อย่าเข้าไปสัมผัสตัวผู้ที่ถูกไฟดูดโดยตรงอย่างเด็ดขาด! เพราะนอกจากไม่ได้ช่วย ยังเสี่ยงให้คุณโดนไฟดูดไปด้วยนั่นเอง


  วิธีป้องกันการลูกจากไฟดูด

✔️ ตรวจสอบปลั๊กไฟภายในบ้านว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ หากชำรุดเร่งแก้ไข 

✔️ หากมีปลั๊กไฟอยู่ในตำแหน่งที่ลูกน้อยเอื้อมจับถึงได้ ควรมีตัวครอบปิดป้องกันไว้

✔️ ทุกการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อย่าลืมดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง 

✔️ ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า เช่น ติดตั้งสายดิน ระบบตัดไฟฟ้าอัตโนมัติหากมีการรั่ว

✔️ จัดบริเวณหรือสถานที่ให้ลูกน้อยอยู่ในสายตา อย่าละเลยลูกน้อย 

✔️ ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ห้ามปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง


คำถามจากทางบ้าน : ลูกคลานไปจับปลั๊กพัดลมที่เสียบอยู่ โดยดึงปลายเหล็กโผล่ออกมา และมีรอยแผลบริเวณนิ้ว จะหายกลับมาเป็นปกติไหม?

ตอบ: หากมีรอยไหม้ หรือรอยถลอกบริเวณนิ้วที่ลูกน้อยไปสัมผัสโดนเล็กน้อย จะค่อยๆ หายเองได้และกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด และหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที 


คำถามจากทางบ้าน :  ลูกโดดไฟดูด ต้องพาไปหาหมอไหม?

ตอบ: ต้องพาไปพบแพทย์ในทันที แม้จะไม่มีอาการผิดปกติภายนอกให้เห็นก็ตาม เพราะไฟดูดอาจส่งผลต่อระบบหัวใจและระบบประสาทได้ และควรเฝ้าระวังอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง 


ข้อควรรู้ : เด็กเล็กและผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากการถูกไฟดูดมากกว่าคนปกติ


  ซื้อประกันอุบัติเหตุเด็กวิริยะประกันภัย เพิ่มความอุ่นใจให้วัยซน 

  ถึงแม้คุณจะระมัดระวังให้ลูกน้อยแค่ไหน แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลา การซื้อประกันอุบัติเหตุเด็กจึงไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือความจำเป็นที่สำคัญที่สุด แล้วจะซื้อประกันอุบัติเหตุไหนดี? ขอแนะนำแผนประกันอุบัติเหตุเด็ก PA อุ่นใจวัยซน จากวิริยะประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล อุบัติเหตุ ค่าชดเชยกรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในยามจำเป็น ให้ลูกน้อยเล่นซนได้เต็มที่ วางใจให้ประกันอุบัติเหตุวิริยะดูแลคุณและคนที่รัก ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุเด็ก PA อุ่นใจวัยซน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คลิกที่นี่


ที่มา: rama.mahidol

สินค้าแนะนำ

...

ประกันอุบัติเหตุ

PA อุ่นใจวัยซน