มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายของผู้หญิงทุกคน
“มะเร็งรังไข่” พบมากที่สุดอันดับ 7 ของผู้หญิงทั่วโลก
โดยมีสถิติผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว ในประเทศไทยมะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งในผู้หญิง อาการของมะเร็งรังไข่เป็นอย่างไรและสาเหตุการเกิดของมะเร็งรังไข่คืออะไร บทความนี้มีคำตอบ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งรังไข่
ในปัจจุบัน มะเร็งรังไข่ยังไม่สามารถทราบถึงสาเหตุการเกิดได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถบอกได้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้ดังนี้
- เคยเป็นมะเร็งมาก่อน สำหรับคนที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งลำไส้มาก่อน มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนทั่วไป
- มีประจำเดือนเร็วหรือหมดประจำเดือนช้า ช่วงระยะเวลาการเป็นประจำเดือนก็เป็นการบอกได้ว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่หรือไม่ โดยผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปีก็อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน
- มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง คนที่ในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะญาติใกล้ชิดอย่างแม่หรือพี่สาวน้องสาว ก็อาจทำให้คุณมีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่เช่นกัน
- ไม่เคยตั้งครรภ์ คนที่ไม่เคยตั้งครรภ์ ไม่เคยคลอดบุตรหรือมีบุตรยาก
- สภาพแวดล้อม สารเคมี อาหารหลาย ๆ อย่างในประเทศอุตสาหกรรม อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ได้ พบว่าในประเทศอุตสาหกรรมจะมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
อาการของมะเร็งรังไข่
เมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้หลายข้อร่วมกัน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณจะต้องไปพบแพทย์
เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณเบื่ออาหาร
- ท้องเสียเรื้อรัง
- อึดอัดในช่องท้อง
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- ช่องคลอดเลือดออก
- ท้องโตผิดปกติ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
อย่าลืมหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการของมะเร็งรังไข่หรือไม่ หากตรวจพบก่อน รู้ก่อน จะได้รักษามะเร็งทัน เช่นเดียวกับการมีประกันโรคร้าย Cancer Pro by BDMS ประกันมะเร็ง จากวิริยะประกันสุขภาพ💙💛
ที่มา wattanosothcancerhospital.com
blog, Cancer, OvarianCancer, โรคมะเร็ง, ซื้อประกันมะเร็ง, ตรวจสุขภาพ, บทความ, ประกันโรคร้าย, ประกันมะเร็ง, ภัยร้ายของผู้หญิง, มะเร็ง, มะเร็งรังไข่, วิริยะประกันสุขภาพ
สินค้าแนะนำ
ประกันโรคร้าย
ประกันมะเร็ง Cancer Pro by BDMS