ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีสาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม?
หัวใจ หนึ่งในอวัยะสำคัญมากที่สุด ที่จะช่วยต่อลมหายใจของคนเรา และการที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นมานั้น แสดงว่าระบบการทำงานของหัวใจเกิดผิดปกติ บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าภาวะนี้มีที่มายังไง
เพราะหัวใจของคนเรา ทำหน้าที่ในการรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าสู่ห้องบนขวา จากนั้นเลือดจะไหลลงสู่หัวใจห้องล่างขวา ถูกส่งต่อไปยังปอดเพื่อฟอกให้สะอาด และเมื่อฟอกเสร็จ เลือดที่มีออกซิเจนจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ผ่านลงห้องล่างซ้าย และสูบฉีดออกไปผ่านหลอดเลือดแดง ส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ซึ่งนี่คือกระบวนการการทำงานแบบปกติของหัวใจ แต่ถ้าหากอยู่ ๆ การทำงานข้างต้นที่กล่าวมาผิดแปลกไป นั่นก็อาจจะหมายความว่า อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” เพราะเรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับการซื้อประกันสุขภาพ วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส เลือกวางแผนค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ให้คุณอุ่นใจได้เลยว่า จะได้รับการดูแลอาการเจ็บป่วยอย่างครอบคลุม
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป หรือช้ากว่าปกติ มีอัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอ เพราะโดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจ จะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที หากเกิดภาวะนี้จะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่น้อยหรือมากกว่านี้ หรืออาจสลับเต้นแล้วหยุด ไม่เป็นจังหวะก็ได้ ซึ่งเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติไป
สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากอะไร
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟอีน ชากาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง แอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ และป่วยเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง สาเหตุเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากกว่าผู้อื่น
ที่มา : โรงพยาบาลวิมุต เทพธารินทร์
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย หายใจติดขัด ใจสั่น แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย หมดแรง หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่า คุณอาจจะเป็น “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”
อาการของหัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นแรง อาจถึงขั้นหมดสติ เสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้
อาการของหัวใจเต้นช้า
เต้นช้าไม่มาก : จะมีอาการเหนื่อยง่าย เมื่อออกกำลัง
เต้นช้ามากขึ้น : ขณะพักจะมีอาการเหนื่อยร่วมด้วย
เต้นช้ารุนแรง : หน้ามืด หมดสติ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
วิธีรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การช็อกไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ
- การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้ามากผิดปกติ
- การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ หรือเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ
- ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์พฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดความเครียด ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงสารกระตุ้น
อาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่ห่างไกลตัว แต่ความจริงแล้ว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการฟังเสียงหัวใจของตัวเอง ใส่ใจอาหารการกิน เพราะการจะมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง เกิดขึ้นได้จากตัวคุณเอง ด้วยความปรารถนาดี จากวิริยะประกันสุขภาพ
สินค้าแนะนำ
ประกันสุขภาพ
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส
ประกันสุขภาพ
วี เพรสทีจ แคร์
ประกันสุขภาพ
วี ดีลักซ์ แคร์ บาย เกษมราษฎร์